วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 5  
 


ครูถนอม ศิริรักษ์

การศึกษา ชีวิต และการทำงาน

ครูถนอม เกิดที่ระโนด เมือปี ๒๔๗๐ บิดารับราชการเป็นศึกษาธิการ เมื่อครูถนอมเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มารดาเสียชีวิต จึงมาอาศัยอยู่กับคุณลุงคุณป้า ซึ่งรับราชการอยู่ตามจังหวัดต่างๆจนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวรนารีเฉลิมสงขลา และเข้ารับราชการครูจนตำแหน่งสุดท้ายที่ลาออกจากราชการ คือ ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนสะทิ้งพระ ด้วยวัย ๕๕ ปี เมื่อลาออกก็มีความสุขกับงานช่วยสังคม จนได้รับตำแหน่งทางสังคมจนถึงระดับจังหวัดมากมาย ครูถนอมได้รวมทุนรวมคนจัดอาชีพเสริม และขยายกิจการออกไปหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตเต้าเจี้ยวจากถั่งเหลือ กลุ่มทำขนมพื้นเมือง กลุ่มแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ ฯลฯ

ครูถนอมมีความสามารถในเรื่องการแปรรูปอาหาร ได้เริ่มหัดเรียนทำน้ำบูดูจากคุณป้า เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยนำปลาทะเลตัวเล็ก มาหมักทำน้ำบูดู ด้วยการใช้สับปะรดหั่นเป็นแว่นหรือใช้ส้มแขกรองก้นโอ่งเพื่อลดความเค็มของเกลือ โรยด้วยน้ำตาลแว่นหรือน้ำตาลโตนดเล็กน้อย เพื่อลดความคาวของปลา และจากการศึกษาดูงานการทำน้ำปลาจากถิ่นต่างๆ ครูถนอมนำน้ำบูดูส่วนหนึ่งหมักทำน้ำปลา ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ ใส่ขวดบ่มตากแดดนาน ๖-๘เดือน เป็นสูตรเฉพาะของครูถนอม

ต่อมาเมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ เครื่องบดไฟฟ้าบดเครื่องแกงเข้ามาใช้ ครูถนอมจึงนำสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ในการทำน้ำบูดู เช่น หอมแดง ใบมะกรูด ตะไคร้ ซึ่งจะนำมาเคี่ยวและในที่สุดต้องกรองทิ้งจนเหลือแต่น้ำบูดูนั้น ครูถนอมเห็นว่าสมุนไพรดังกล่าวเป็นสมุนไพรที่รับประทานได้ทั้งหมดและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง จึงนำสมุนไพรมาบดให้ละเอียด ทำให้ได้สูตรน้ำบูดูที่มีสมุนไพรบดละเอียดเป็นคนแรก ทำให้ได้สูตรสมุนไพรที่เข้มข้นและรสหวานกลมกล่อมกว่าเก่า การทำซีอิ้วปลา ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ไปเยี่ยมบุตรชายที่เรียนหนังสือในเมือง พบน้ำบูด๊ที่ค้างขวดเล็กน้อยหลายขวด เกิดความเสียดายจึงนำมาต้มใหม่ กรองเครื่องปรุงออก ชิมดูรสชาติคล้ายซีอิ้วอร่อยไม่แพ้ถั่วเหลือง จึงคิดสูตรการทำน้ำซีอิ้วปลา จากน้ำบูดูได้สำเร็จ

ครูถนอมได้นำความรู้ทั้งหมดมาเผยแพร่แก่ผู้สนใจทั่วภาคใต้ ทั้งภาครัฐและเอกชนมรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จนปัจจุบัน ทั้งยังเป็นวิทยากรฝึกอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งบันทึกเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้สอนในโรงเรียนด้วย

ผลงานของครู

ครูถนอมได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ สมาชิก และกลุ่มแม่บ้านจากชุมชนต่างๆ เพื่อนำไปใช้เองในครัวเรือน ผู้ประกอบการจนเกิดโรงงาน

อุตสาหกรรมน้ำปลาในภาคใต้ประมาณ ๑๐๐ กว่าแห่ง ล้วนแล้วแต่น้ำสูตรของครูถนอมไปแปรรูปทั้งสิ้น สร้างรายได้ให้กับโรงงาน โดยขยายได้วันละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ขวด ทั่วภาคใต้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้นำความรู้มาเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและการประกอบอาชีพ โดยให้ปฏิบัติต่อจนสามารถทำเองได้

นอกจากนี้ยังถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนในระบบ ซึ่งสถาบันการศึกษาบางแห่งตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้นำความรู้ดังกล่าวไปจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น
 

ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง

1.             การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อลูกศิษย์

2.             การเอาใจใส่ เข้าใจลูกศิษย์

3.             การถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ โดยไม่หวงแหนวิชา

4.             การเตรียมความพร้อมในการสอน

5.             ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระในการสอน

6.             ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น