วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 7

 

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน

เรื่อง : พุทธประวัติ

ผู้สอน : อาจารย์อุทุมพร    มุลพรหม

ระดับชั้นที่สอน : ประถมศึกษาปีที่ 5

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

                ครูสอนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ บุคคลที่สำคัญในพุทธประวัติ และคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้าโดยให้นักเรียนทำเป็น POP UP ซึ่งนักเรียนสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น เรื่อง การมีน้ำใจ มีเมตตาต่อผู้อื่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน

                การทำป๊อปอัพ เป็นการฝึกให้นักเรียนสร้างสื่อการสอนด้วยตนเองและเมื่อทุกคนทำเสร็จแล้วก็จะออกมาเล่าเรื่องที่ตนเองทำให้เพื่อนๆฟัง คุณครูสอนเรื่องพุทธประวัติ ครูก็จะไปหารูปภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติมาให้เด็กๆ คนละ 1 ภาพไม่ซ้ำกัน ครูจะสอนให้ทำ pop up เพราะเด็กโตสามารถใช้คัตเตอร์ กรรไกร อุปกรณ์มีคมได้แล้ว เด็กๆก็จะระบายสี ตกแต่งภาพตามจินตนาการ เสร็จแล้วให้แต่ละคนโชว์ภาพของตัวเองหน้าห้อง และออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟังตามลำดับภาพที่ตัวเองได้ จากนั้นครูก็จะรวบรวมภาพของทุกๆคน นำมารวมกันเป็นเล่มเป็นหนังสือเรียน เรื่องพุทธประวัติ ที่เด็กๆทุกคนในห้องช่วยกันทำ 1 เล่ม เด็กจะภูมิใจมากและจะชอบไปเปิดดู เปิดอ่านอย่างภาคภูมิใจและจะจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติได้ สามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน

ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม นักเรียนเกิดความสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำ ทำให้ไม่น่าเบื่อ การที่นักเรียนออกมาเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ และใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง เกิดความมั่นใจในการนำวิธีการคิดมาปรับใช้ในการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆต่อไปได้
 


4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน
มีห้องเรียนที่สะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบมีห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
 ครูมีการเอาใจใส่ดูแลเด็กเป็นอย่างดีในการเรียนการสอน ให้ความช่วยเหลือต่อมละมีความเข้าใจต่อเด็กทุกคน ส่วนนักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่ดี ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนานและความอบอุ่นไปด้วย


วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 5  
 


ครูถนอม ศิริรักษ์

การศึกษา ชีวิต และการทำงาน

ครูถนอม เกิดที่ระโนด เมือปี ๒๔๗๐ บิดารับราชการเป็นศึกษาธิการ เมื่อครูถนอมเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มารดาเสียชีวิต จึงมาอาศัยอยู่กับคุณลุงคุณป้า ซึ่งรับราชการอยู่ตามจังหวัดต่างๆจนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวรนารีเฉลิมสงขลา และเข้ารับราชการครูจนตำแหน่งสุดท้ายที่ลาออกจากราชการ คือ ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนสะทิ้งพระ ด้วยวัย ๕๕ ปี เมื่อลาออกก็มีความสุขกับงานช่วยสังคม จนได้รับตำแหน่งทางสังคมจนถึงระดับจังหวัดมากมาย ครูถนอมได้รวมทุนรวมคนจัดอาชีพเสริม และขยายกิจการออกไปหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตเต้าเจี้ยวจากถั่งเหลือ กลุ่มทำขนมพื้นเมือง กลุ่มแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ ฯลฯ

ครูถนอมมีความสามารถในเรื่องการแปรรูปอาหาร ได้เริ่มหัดเรียนทำน้ำบูดูจากคุณป้า เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยนำปลาทะเลตัวเล็ก มาหมักทำน้ำบูดู ด้วยการใช้สับปะรดหั่นเป็นแว่นหรือใช้ส้มแขกรองก้นโอ่งเพื่อลดความเค็มของเกลือ โรยด้วยน้ำตาลแว่นหรือน้ำตาลโตนดเล็กน้อย เพื่อลดความคาวของปลา และจากการศึกษาดูงานการทำน้ำปลาจากถิ่นต่างๆ ครูถนอมนำน้ำบูดูส่วนหนึ่งหมักทำน้ำปลา ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ ใส่ขวดบ่มตากแดดนาน ๖-๘เดือน เป็นสูตรเฉพาะของครูถนอม

ต่อมาเมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ เครื่องบดไฟฟ้าบดเครื่องแกงเข้ามาใช้ ครูถนอมจึงนำสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ในการทำน้ำบูดู เช่น หอมแดง ใบมะกรูด ตะไคร้ ซึ่งจะนำมาเคี่ยวและในที่สุดต้องกรองทิ้งจนเหลือแต่น้ำบูดูนั้น ครูถนอมเห็นว่าสมุนไพรดังกล่าวเป็นสมุนไพรที่รับประทานได้ทั้งหมดและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง จึงนำสมุนไพรมาบดให้ละเอียด ทำให้ได้สูตรน้ำบูดูที่มีสมุนไพรบดละเอียดเป็นคนแรก ทำให้ได้สูตรสมุนไพรที่เข้มข้นและรสหวานกลมกล่อมกว่าเก่า การทำซีอิ้วปลา ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ไปเยี่ยมบุตรชายที่เรียนหนังสือในเมือง พบน้ำบูด๊ที่ค้างขวดเล็กน้อยหลายขวด เกิดความเสียดายจึงนำมาต้มใหม่ กรองเครื่องปรุงออก ชิมดูรสชาติคล้ายซีอิ้วอร่อยไม่แพ้ถั่วเหลือง จึงคิดสูตรการทำน้ำซีอิ้วปลา จากน้ำบูดูได้สำเร็จ

ครูถนอมได้นำความรู้ทั้งหมดมาเผยแพร่แก่ผู้สนใจทั่วภาคใต้ ทั้งภาครัฐและเอกชนมรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จนปัจจุบัน ทั้งยังเป็นวิทยากรฝึกอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งบันทึกเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้สอนในโรงเรียนด้วย

ผลงานของครู

ครูถนอมได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ สมาชิก และกลุ่มแม่บ้านจากชุมชนต่างๆ เพื่อนำไปใช้เองในครัวเรือน ผู้ประกอบการจนเกิดโรงงาน

อุตสาหกรรมน้ำปลาในภาคใต้ประมาณ ๑๐๐ กว่าแห่ง ล้วนแล้วแต่น้ำสูตรของครูถนอมไปแปรรูปทั้งสิ้น สร้างรายได้ให้กับโรงงาน โดยขยายได้วันละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ขวด ทั่วภาคใต้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้นำความรู้มาเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและการประกอบอาชีพ โดยให้ปฏิบัติต่อจนสามารถทำเองได้

นอกจากนี้ยังถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนในระบบ ซึ่งสถาบันการศึกษาบางแห่งตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้นำความรู้ดังกล่าวไปจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น
 

ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง

1.             การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อลูกศิษย์

2.             การเอาใจใส่ เข้าใจลูกศิษย์

3.             การถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ โดยไม่หวงแหนวิชา

4.             การเตรียมความพร้อมในการสอน

5.             ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระในการสอน

6.             ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

 

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 4
การทำงานเป็นทีม คือ การร่วมทำงานของสมาชิกมกกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
                1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจขององค์การ
- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผลงานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน
- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่ายสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน
                2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีมจะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวังความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและอารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ
                3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
                4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำงานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือเหตุผลที่ทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คือ การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงานขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้น เลี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะความไม่รับผิดชอบต่อผลงานส่วนรวม
4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างสองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกันจึงทำให้ความคิดหรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั้น เสียหาย หรือดำเนินไปได้ยากไม่ราบรื่นทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
- สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน
- ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน 
 - ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
- การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
- เป้าหมายต่างกัน
                4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่าผู้อื่น  หรือไม่พูดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายามพูดหาประเด็นของความขัดแย้ง ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดใครถูก
5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้นทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไรงานจึงจะออกมาดีได้ดังที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมายควรจะมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555




กิจกรรมที่ 3

1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
การจัดการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 มีการเรียนรู้ที่คล้ายกันคือจะเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตอยู่รอด มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น เมื่อก่อนมนุษย์จะไม่รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม ส่วนในปัจจุบันนี้การเรียนรู้คือชีวิต สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ การเรียนรู้จะมีทุกทีทุกแห่งหน การศึกษาจะเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
 
2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
การจัดการเรียนเรียนการสอนในอนาคต ครูจะต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในด้านการสอนหรือของเนื้อหาที่จะใช้สอน ซึ่งการเรียนการสอนควรจัดให้มีความหลากหลายเพราะผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่จะเรียนรู้ โดยการการเรียนรู้นั้นควรจะใช้ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหม่เพื่อศึกษาสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบด้านและเป็นคนที่พร้อมยอมรับเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงในสิ่งโลกเปลี่ยนไปและทันตามทันตามโลกอยู่ทุกๆเวลา
 
 

 

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

ทฏษฎีการบริหารการศึกษา

  • Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ  เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึง ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่าเป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds) หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์

  • Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่

อังริ ฟาโยล เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory) เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะจัดองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม โดยประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ 1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร 13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ

  • Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
แมกซ์ เวเบอร์ ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม  มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานที่ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยสำนักงานหรือตำแหน่งต่างๆถูกจัดให้เป็นลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงานนั้นจะถูกคัดเลือกมาตามความสามารถและคุณสมบัติ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และการกำกับการทำงานของพนักงาน
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ เป็นนักบริหารหรือนักจัดการที่เข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของตน โดยแยกความผูกพันและความเป็นเจ้าของออกจากกัน

  • Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ มีดังต่อไปนี้                                                                           P คือการวางแผน (planning) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
    O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึง การจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
    D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกัน
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ
B คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณ



บทที่1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
                     การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
        บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
                    1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง  เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้
                    2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
                  3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
            ยุคที่ 1 นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ 2 สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
            ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์  การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
            ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา
      บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา
                   งานของผู้บริหารการศึกษาแบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ 1.งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ 3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
            ภารกิจของการบริหารการศึกษา คือ 1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ  พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา   2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร             Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้

1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
             ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย


       บทที่ 4  กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
                      การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
       บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ
                     องค์การ หมายถึง กระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ ระบบโครงสร้างการบริหาร  เน้น โครงสร้างกระบวนการ ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การ ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ
       บทที่ 6  การติดต่อสื่อสาร
                      การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
                      ความสำคัญของการสื่อสาร มีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป .แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
                     องค์ประกอบของการสื่อสารมี 5 ประการ คือ 1.ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร 2.ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง 3.ด้วยข่าวสาร 4. ผู้รับการติดต่อสื่อสาร 5.การตอบรับ
                   รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ การติอต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ
        บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ   
                                                                                                                                                                                                            บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นอันหนึ่งเดียวกันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน ไม่ซับซ้อน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นตรงตามเป้าหมาย                     
                        ความมุ่งหมายในการประสานงาน ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น เพื่อลดปัญหาการสิ้นเปลือง
                       อุปสรรคในการทำงาน การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน การขาดแผนการปฏิบัติงาน ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน  การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด

          บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ การบริหาร ประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา                                องค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ คือ 1.ข่าวสาร  2.การเสี่ยง 3.นโยบาย
       4.ปัญหาต่าง ๆ 5.เวลา
                         ประโยชน์การตัดสินใจ คือ ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ ก่อให้เกิดการประสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อนช่วยประหยัดทรัพยากรทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล


         บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
                        ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ ฯลฯ
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา  
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียน โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้