วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 7

 

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน

เรื่อง : พุทธประวัติ

ผู้สอน : อาจารย์อุทุมพร    มุลพรหม

ระดับชั้นที่สอน : ประถมศึกษาปีที่ 5

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

                ครูสอนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ บุคคลที่สำคัญในพุทธประวัติ และคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้าโดยให้นักเรียนทำเป็น POP UP ซึ่งนักเรียนสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น เรื่อง การมีน้ำใจ มีเมตตาต่อผู้อื่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน

                การทำป๊อปอัพ เป็นการฝึกให้นักเรียนสร้างสื่อการสอนด้วยตนเองและเมื่อทุกคนทำเสร็จแล้วก็จะออกมาเล่าเรื่องที่ตนเองทำให้เพื่อนๆฟัง คุณครูสอนเรื่องพุทธประวัติ ครูก็จะไปหารูปภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติมาให้เด็กๆ คนละ 1 ภาพไม่ซ้ำกัน ครูจะสอนให้ทำ pop up เพราะเด็กโตสามารถใช้คัตเตอร์ กรรไกร อุปกรณ์มีคมได้แล้ว เด็กๆก็จะระบายสี ตกแต่งภาพตามจินตนาการ เสร็จแล้วให้แต่ละคนโชว์ภาพของตัวเองหน้าห้อง และออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟังตามลำดับภาพที่ตัวเองได้ จากนั้นครูก็จะรวบรวมภาพของทุกๆคน นำมารวมกันเป็นเล่มเป็นหนังสือเรียน เรื่องพุทธประวัติ ที่เด็กๆทุกคนในห้องช่วยกันทำ 1 เล่ม เด็กจะภูมิใจมากและจะชอบไปเปิดดู เปิดอ่านอย่างภาคภูมิใจและจะจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติได้ สามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน

ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม นักเรียนเกิดความสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำ ทำให้ไม่น่าเบื่อ การที่นักเรียนออกมาเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ และใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง เกิดความมั่นใจในการนำวิธีการคิดมาปรับใช้ในการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆต่อไปได้
 


4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน
มีห้องเรียนที่สะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบมีห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
 ครูมีการเอาใจใส่ดูแลเด็กเป็นอย่างดีในการเรียนการสอน ให้ความช่วยเหลือต่อมละมีความเข้าใจต่อเด็กทุกคน ส่วนนักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่ดี ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนานและความอบอุ่นไปด้วย


วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 5  
 


ครูถนอม ศิริรักษ์

การศึกษา ชีวิต และการทำงาน

ครูถนอม เกิดที่ระโนด เมือปี ๒๔๗๐ บิดารับราชการเป็นศึกษาธิการ เมื่อครูถนอมเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มารดาเสียชีวิต จึงมาอาศัยอยู่กับคุณลุงคุณป้า ซึ่งรับราชการอยู่ตามจังหวัดต่างๆจนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวรนารีเฉลิมสงขลา และเข้ารับราชการครูจนตำแหน่งสุดท้ายที่ลาออกจากราชการ คือ ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนสะทิ้งพระ ด้วยวัย ๕๕ ปี เมื่อลาออกก็มีความสุขกับงานช่วยสังคม จนได้รับตำแหน่งทางสังคมจนถึงระดับจังหวัดมากมาย ครูถนอมได้รวมทุนรวมคนจัดอาชีพเสริม และขยายกิจการออกไปหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตเต้าเจี้ยวจากถั่งเหลือ กลุ่มทำขนมพื้นเมือง กลุ่มแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ ฯลฯ

ครูถนอมมีความสามารถในเรื่องการแปรรูปอาหาร ได้เริ่มหัดเรียนทำน้ำบูดูจากคุณป้า เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยนำปลาทะเลตัวเล็ก มาหมักทำน้ำบูดู ด้วยการใช้สับปะรดหั่นเป็นแว่นหรือใช้ส้มแขกรองก้นโอ่งเพื่อลดความเค็มของเกลือ โรยด้วยน้ำตาลแว่นหรือน้ำตาลโตนดเล็กน้อย เพื่อลดความคาวของปลา และจากการศึกษาดูงานการทำน้ำปลาจากถิ่นต่างๆ ครูถนอมนำน้ำบูดูส่วนหนึ่งหมักทำน้ำปลา ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ ใส่ขวดบ่มตากแดดนาน ๖-๘เดือน เป็นสูตรเฉพาะของครูถนอม

ต่อมาเมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ เครื่องบดไฟฟ้าบดเครื่องแกงเข้ามาใช้ ครูถนอมจึงนำสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ในการทำน้ำบูดู เช่น หอมแดง ใบมะกรูด ตะไคร้ ซึ่งจะนำมาเคี่ยวและในที่สุดต้องกรองทิ้งจนเหลือแต่น้ำบูดูนั้น ครูถนอมเห็นว่าสมุนไพรดังกล่าวเป็นสมุนไพรที่รับประทานได้ทั้งหมดและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง จึงนำสมุนไพรมาบดให้ละเอียด ทำให้ได้สูตรน้ำบูดูที่มีสมุนไพรบดละเอียดเป็นคนแรก ทำให้ได้สูตรสมุนไพรที่เข้มข้นและรสหวานกลมกล่อมกว่าเก่า การทำซีอิ้วปลา ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ไปเยี่ยมบุตรชายที่เรียนหนังสือในเมือง พบน้ำบูด๊ที่ค้างขวดเล็กน้อยหลายขวด เกิดความเสียดายจึงนำมาต้มใหม่ กรองเครื่องปรุงออก ชิมดูรสชาติคล้ายซีอิ้วอร่อยไม่แพ้ถั่วเหลือง จึงคิดสูตรการทำน้ำซีอิ้วปลา จากน้ำบูดูได้สำเร็จ

ครูถนอมได้นำความรู้ทั้งหมดมาเผยแพร่แก่ผู้สนใจทั่วภาคใต้ ทั้งภาครัฐและเอกชนมรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จนปัจจุบัน ทั้งยังเป็นวิทยากรฝึกอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งบันทึกเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้สอนในโรงเรียนด้วย

ผลงานของครู

ครูถนอมได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ สมาชิก และกลุ่มแม่บ้านจากชุมชนต่างๆ เพื่อนำไปใช้เองในครัวเรือน ผู้ประกอบการจนเกิดโรงงาน

อุตสาหกรรมน้ำปลาในภาคใต้ประมาณ ๑๐๐ กว่าแห่ง ล้วนแล้วแต่น้ำสูตรของครูถนอมไปแปรรูปทั้งสิ้น สร้างรายได้ให้กับโรงงาน โดยขยายได้วันละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ขวด ทั่วภาคใต้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้นำความรู้มาเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและการประกอบอาชีพ โดยให้ปฏิบัติต่อจนสามารถทำเองได้

นอกจากนี้ยังถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนในระบบ ซึ่งสถาบันการศึกษาบางแห่งตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้นำความรู้ดังกล่าวไปจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น
 

ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง

1.             การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อลูกศิษย์

2.             การเอาใจใส่ เข้าใจลูกศิษย์

3.             การถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ โดยไม่หวงแหนวิชา

4.             การเตรียมความพร้อมในการสอน

5.             ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระในการสอน

6.             ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน