กิจกรรมที่2
ทฏษฎีการบริหารการศึกษา
- Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึง ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่าเป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่าเป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds) หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
- Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
อังริ ฟาโยล เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory) เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะจัดองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม โดยประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ 1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร 13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ
แมกซ์ เวเบอร์ ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานที่ชัดเจนและไม่สับสน
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานที่ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยสำนักงานหรือตำแหน่งต่างๆถูกจัดให้เป็นลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงานนั้นจะถูกคัดเลือกมาตามความสามารถและคุณสมบัติ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และการกำกับการทำงานของพนักงาน
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ เป็นนักบริหารหรือนักจัดการที่เข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของตน โดยแยกความผูกพันและความเป็นเจ้าของออกจากกัน
- Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ มีดังต่อไปนี้ P คือการวางแผน (planning) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึง การจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกัน
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกัน
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ
บทที่1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้
2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
ยุคที่ 1 นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ 2 สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา
บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา
งานของผู้บริหารการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ 3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ ภารกิจของการบริหารการศึกษา คือ 1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา 2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ 3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ ภารกิจของการบริหารการศึกษา คือ 1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา 2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
บทที่ 4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง กระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การ ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร มีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป .แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
องค์ประกอบของการสื่อสารมี 5 ประการ คือ 1.ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร 2.ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง 3.ด้วยข่าวสาร 4. ผู้รับการติดต่อสื่อสาร 5.การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ การติอต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ
บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นอันหนึ่งเดียวกันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน ไม่ซับซ้อน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นตรงตามเป้าหมาย
ความมุ่งหมายในการประสานงาน ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น เพื่อลดปัญหาการสิ้นเปลือง
อุปสรรคในการทำงาน การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน การขาดแผนการปฏิบัติงาน ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด
บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ การบริหาร ประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา องค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ คือ 1.ข่าวสาร 2.การเสี่ยง 3.นโยบาย
4.ปัญหาต่าง ๆ 5.เวลา
ประโยชน์การตัดสินใจ คือ ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ ก่อให้เกิดการประสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อนช่วยประหยัดทรัพยากรทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ ฯลฯ
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียน โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้